บทเรียนที่11 วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว หมายถึง การปฏิบัติต่างๆ เพื่อถนอมรักษาและเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้ผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวนั้นมีคุณภาพดีที่สุด เก็บรักษาไว้ได้นานที่สุด และนำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้ราคาดีที่สุด
ด้วยเหตุนี้วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวจึงมีความสำคัญต่อการปลูกพืชทุกชนิด
ทั้งที่ปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนและปลูกเพื่อเป็นการค้า
เพราะจะช่วยให้เราได้รับผลผลิตจากพืชคุ้มค่ากับการลงทุนทั้งการใช้ที่ดินแรงงาน
เงินทุน เวลา และความรู้ความสามารถซึ่งถือเป็นต้นทุนทั้งสิ้น
ผลผลิตจากการปลูกพืชประเภทผักและผลไม้
ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วส่วนใหญ่สามารถนำไปรับประทานหรือจำหน่ายในท้องถิ่นหรือบริเวณใกล้ๆกับแหล่งผลิตได้เลยโดยไม่ต้องมีการปฏิบัติขั้นตอนอื่นๆเช่นการบ่มการคัดขนาดการบรรจุหีบห่อเป็นต้นทั้งนี้เพราะผลผลิตดังกล่าวยังมีความสดมีคุณภาพดีอยู่แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าหากต้องการนำผลผลิตเหล่านี้ไปจำหน่ายหรือรับประทานในท้องถิ่นอื่นหรือตลาดที่อยู่ห่างไกลออกไปจะต้องใช้เวลาในการขนส่งก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมการและดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆเช่นการทำความสะอาดการคัดขนาดการบ่มการบรรจุหีบห่อและการขนส่งเป็นต้นทั้งนี้ก็เพื่อที่จะรักษาผลผลิตดังกล่าวให้คงคุณภาพที่ดีไว้ได้นานที่สุดและเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค
1.การทำความสะอาดผลผลิต
ผลผลิตของพืชหลายชนิดขณะที่มีการเก็บเกี่ยวมักจะมีส่วนที่ไม่ต้องการติดมาด้วยซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้
เช่น
ผักที่ใช้ประโยชน์จากใบลำต้นและดอกเมื่อเก็บเกี่ยวอาจจะมีส่วนที่รับประทานไม่ได้ติดมาด้วยเช่นใบแก่ใบที่แมลงถูกทำลายเศษวัชพืชฝุ่นผงดินปลูกหนอนและแมลงศัตรูพืชเป็นต้นซึ่งจะต้องทำการคัดแยกออกและทำความสะอาดก่อนที่จะนำไปรับประทานหรือบรรจุถุงจำหน่ายแต่มีผักบางชนิดที่ต้องมีส่วนที่รับประทานไม่ได้ติดมาด้วยเพื่อช่วยป้องกันและรักษาคุณภาพของผลผลิตเช่นกะหล่ำปลีกะหล่ำดอกบร๊อคโคลี่เป็นต้นจะต้องมีใบแก่ห่อหุ้มยอดอ่อนหรือส่วนของดอกที่อยู่ภายในไม่ให้ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่งหรือวางจำหน่ายผักบุ้งผักชีจะต้องมีรากติดมาด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ลำต้นและใบเหี่ยวเฉาได้ง่ายเพราะรากที่ติดอยู่จะสามารถดูดน้ำเข้าไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้อย่างรวดเร็วเมื่อนำไปแช่น้ำทำให้ผักเหล่านี้สดอยู่เสมอแต่เมื่อจำหน่ายแล้วและนำไปรับประทานจึงค่อยตัดรากออกเป็นต้น
การทำความสะอาดผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมานั้นมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อให้ผลผลิตมีความสวยงามและมีคุณภาพดีขึ้นเพราะสิ่งต่างๆที่ติดมาเช่นเศษพืชที่เน่าเปื่อยฝุ่นผงดินส่วนที่แก่ส่วนที่ถูกโรคและแมลงทำลายหนอนแมลงหรือเชื้อโรคตลอดจนคราบสารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชสิ่งเหล่านี้อาจะทำให้ผลผลิตมีลักษณะไม่น่าซื้อไม่น่ารับประทานและอาจจะมีส่วนที่ทำให้ผลผลิตเหล่านี้เสื่อมคุณภาพลงได้เร็วกว่าที่กำหนดตลอดจนอาจจะเป็นพิษหรืออันตรายแก่ผู้บริโภคด้วย การทำความสะอาดผลผลิตสามารถเลือกปฏิบัติได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมและเหมาะสมมี2วิธีดังนี้
1.1 การทำความสะอาดด้วยน้ำ
น้ำจะเป็นตัวกลางคอยชะล้างและพัดพาเอาสิ่งสกปรกแปลกปลอมที่ติดมากับผลผลิตให้ไหลปะปนไปกับน้ำน้ำที่ใช้ทำความสะอาดจะต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นอันตรายแก่ผลผลิตและผู้บริโภคโดยมากจะใช้คลอรีนผสมลงไปในอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อทำลายเชื้อโรคการทำความสะอาดโดยการล้างสามารถทำได้โดยใช้มือขัดถูหรืออาจจะใช้แปรงที่มีขนแปรงอ่อนๆขัดถู(ไม่ควรใช้แปรงที่มีขนแปรงแข็งเกินไปเพราะอาจทำให้ผิวของผลผลิตเสียหายหรือเป็นแผลได้)แต่ถ้าหากมีผลผลิตจำนวนมากเช่นตามโรงงานอุสาหกรรมต่างๆจะใช้เครื่องจักรกลทำความสะอาดแทนเมื่อผลผลิตได้รับการขัดล้างทำความสะอาดแล้วจะต้องฉีดล้างด้วยน้ำสะอาดอีกเป็นครั้งสุดท้ายหลังจากนั้นจึงไปทำให้แห้งอย่างรวดเร็วด้วยการเช็ดด้วยผ้าหรือฟองน้ำหรืออาจจะใช้ลมเป่าก็ได้
1.2
การทำความสะอาดด้วยลม
ผลผลิตบางชนิดไม่สามารถใช้น้ำทำความสะอาดได้เพราะอาจทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหายและเน่าเสียได้ง่ายเช่นเห็ดหอมกระเทียมซึ่งจะต้องใช้แรงคนในการคัดและปัดเอาเศษสิ่งแปลกปลอมออกไปหรืออาจจะใช้แรงลมเป่ากำจัดออกไปก็ได้ทุเรียนน้อยหน่ามังคุดลองกองซึ่งผลไม้เหล่านี้จะมีแมลงประเภทมดและเพลี้ยหอยเพลี้ยแป้งเกาะติดอยู่ตามร่องผลหรือซอกกลีบซึ่งสามารถกำจัดออกไปได้โดยใช้ลมเป่าแต่ต้องใช้ลมที่มีแรงดันมากพอสมควร
อนึ่งผลผลิตประเภทผักที่รับประทานใบลำต้นดอกผลที่มีลักษณะอ่อนอวบเปราะบางและช้ำได้ง่ายไม่ควรใช้น้ำล้างทำความสะอาดมากเกินไปเพราะจะทำให้เสื่อมคุณภาพและเน่าเสียเร็วควรล้างเมื่อจำเป็นเท่านั้น
2. การคัดเลือกและคัดขนาด
โดยทั่วไปผลผลิตของพืชที่เก็บเกี่ยวได้จะมีลักษณะและขนาดที่แตกต่างกันเช่นอ่อนแก่สุกขนาดเล็กกลางใหญ่มีตำหนิไม่มีตำหนิเป็นต้นถ้าหากผู้ปลูกจะนำผลผลิตเหล่านี้ไปจำหน่ายคละรวมกันจะทำให้ไม่เป็นที่จูงใจผู้ซื้อหรืออาจจะขายไม่ได้ราคาตลอดจนอาจจะทำให้ผู้ซื้อมองว่าเป็นผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพดังนั้นการคัดเลือกและการคัดขนาดผลผลิตจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพและคุณค่าของผลผลิตในสายตาของผู้บริโภคและผู้ซื้อให้สามารถเลือกซื้อผลผลิตนั้นได้ตามความต้องการ
การคัดขนาดเป็นการคัดเลือกผลผลิตให้มีขนาดเท่าๆกันและให้เป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภคจะคัดแบ่งออกเป็นกี่ขนาดก็ได้โดยการใช้วิธีการคัดที่แตกต่างกันดังนี้
2.1
การคัดขนาดโดยการสังเกต
การคัดขนาดโดยการสังเกตเป็นการคัดขนาดของผลผลิตโดยใช้สายตาและประสบการณ์ความชำนาญจากการสังเกตรูปร่างขนาดความกว้างยาวเล็กใหญ่สีสันความงามและการสัมผัสแล้วแบ่งออกตามประเภทและขนาดต่างๆตามความต้องการการคัดขนาดวิธีนี้จะใช้กับผลผลิตจำพวกผักชนิดต่างๆและผลไม้บางชนิดเช่นมะขามกล้วยเป็นต้น
2.2
การคัดขนาดด้วยมือและอุปกรณ์ช่วยคัด
การคัดขนาดผลผลิตในบางครั้งต้องการความถูกต้องแม่นยำและให้ได้มาตรฐานโดยเฉพาะผลผลิตประเภทผลไม้ที่มีรูปทรงที่แน่นอนเช่นส้มชนิดต่างๆมังคุดมะม่วงแอปเปิลส้มโอฝรั่งมะเขือเทศเป็นต้นผลไม้เหล่านี้อาจจะใช้เครื่องมืออุปกรณ์ช่วยคัดที่ประดิษฐ์ขึ้นเองอบ่างง่ายๆเช่นวงแหวนขนาดต่างๆแผ่นไม้หรือโลหะเจาะรูให้มีขนาดต่างๆกันลอดลงรูที่เจาะไว้ตามลำดับขนาดนั้นๆแต่ถ้าเป็นผลผลิตจำนวนมากในระบบโรงงานอุตสาหกรรมจะมีเครื่องคัดขนาดที่เป็นเครื่องจักรกลโดนเฉพาะซึ่งสามารถทำงานได้รวดเร็วและมีความแม่นยำในการคัดขนาดมาก
2.3
การคัดขนาดโดยชั่งน้ำหนัก
ผลผลิตบางชนิดมีรูปร่างไม่แน่นอนและไม่เป็นทรงกลมเช่นมะละกอลองกองทุเรียนขนุนฟักทองเงาะเป็นต้นการคัดขนาดโดยอาศัยเครื่องมือและเครื่องช่วยคัดเป็นไปได้ยากจึงต้องคัดขนาดโดยการชั่งน้ำหนักของผลผลิตด้วยตาชั่งซึ่งจะทำให้ได้ขนาดอย่างถูกต้องและแม่นยำมากกว่า
3.
การบ่มผลผลิต
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าผลผลิตจากพืชไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อมีความสมบูรณ์เต็มที่บางชนิดอาจจะเก็บเกี่ยวขณะที่ยังอ่อนและบางชนิดอาจจะเก็บเกี่ยวเมื่อแก่หรือสุกและสามารถนำมารับประทานได้ทันทีในขณะเดียวกันก็มีผลผลิตของพืชบางประเภทเช่นกล้วยมะละกอมะม่วงละมุดเป็นต้นซึ่งจำเป็นจะต้องเก็บเกี่ยวในขณะที่ผลผลิตยังไม่แก่และจะต้องนำมาบ่มให้สุกก่อนที่จะรับประทานหรือนำไปจำหน่ายเพราะผลไม้ดังกล่าวถ้าหากปล่อยให้สุกเองอาจจะทำให้เกิดปัญหาคือผลอ่อนนุ่มไม่ทนทานต่อแรงอัดและการเสียดสีทำให้ผลผลิตช้ำหรือเสียหายได้ง่ายนอกจากนี้ยังทำให้ยากลำบากในการขนส่งและไม่สามารถเก็บผลผลิตไว้ได้นานอีกด้วย
การบ่มผลผลิตโดยเฉพาะผลไม้อาจจะทำได้ง่ายๆตามกรรมวิธีพื้นบ้านที่นิยมปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยก่อนเช่นนำผลผลิตไปเก็บไว้ในภาชนะปิดซึ่งอาจจะเป็นโอ่งกล่องกระดาษลังไม้กะละมังหรือวางเรียงกันบนพื้นแล้วใช้กระสอบป่านผ้าหนาๆหรือใบตองปิดคลุมเพื่อให้เกิดความร้อนสะสมและมีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือจุดธูปไว้ภายในภาชนะที่ใช้บ่มซึ่งการจุดธูปจะช่วยทำให้ผลไม้สุกเร็วขึ้นเพราะการเผาไหม้ของธูปทำให้เกิดความร้อนและแก๊สเอทิลีนซึ่งแก๊สเอทิลีนจะเป็นตัวทำให้ผลไม้สุกเร็วขึ้น
การบ่มผลไม้จำนวนมากๆเช่นกล้วยมะม่วงเป็นต้นนิยมใช้แคลเซียมคาร์ไบต์(Calcium Carbine)หรือที่เรียกว่าถ่านแก๊สโดยใช้ถ่านแก๊สก้อนเล็กๆประมาณ10-20กรัมห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ซุกไว้ภายในภาชนะบรรจุผลไม้เช่นเข่งหลัวหรือลังแล้วปิดฝาด้วยกระดาษถ่านแก๊สที่อยู่ภายในจะทำปฏิกิริยากับความชื้นจากผลไม้ในภาชนะบรรจุทำให้แก๊สอะเซทิลีนซึ่งมีคุณสมบัติในการเร่งผลไม้ให้สุกเร็วขึ้นได้เช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามการบ่มด้วยวิธีพื้นบ้านและใช้ถ่านแก๊สจะทำให้ผลผลิตสุกช้าหรือเร็วมีคุณภาพดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความแก่หรืออ่อนของผลผลิตนั่นๆด้วยเช่นถ้าเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตแก่จัดจะทำให้สุกเร็วมีรสชาติและคุณภาพดีกว่าผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในระยะอ่อนหรือแก่ไม่เต็มที่
ในปัจจุบันการบ่มผลไม้จำนวนมากๆเพื่อเป็นสินค้าออกส่งไปจำหน่ายต่างประเทศจะใช้วิธีการบ่มด้วยแก๊สเอทิลีน
4. การบรรจุภัณฑ์
ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วโดยทั่วไปจะต้องนำผลผลิตมาทำความสะอาดก่อนที่จะนำไปบริโภคหรือจำหน่ายและผลผลิตบางชนิดจะต้องผ่านขั้นตอนการคัดแยกขนาดการบ่มการบรรจุหีบห่อซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตดูน่าซื้อน่าบริโภคมากขึ้น
4.1
ความสำคัญของการบรรจุภัณฑ์
ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นของสดบอบบางช้ำและเสียหายได้ง่ายถ้าได้รับการปฏิบัติดูแลรักษาระหว่างการขนส่งไม่ดีพอจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้ง่ายยิ่งขึ้นและจะส่งผลให้คุณภาพและราคาของผลผลิตตกต่ำด้วยเพราะฉะนั้นการบรรจุหีบห่อหรือการห่อหุ้มจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยทำให้การเก็บรักษาและการขนส่งทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากขึ้นตลอดจนทำให้คุณภาพของผลผลิตเปลี่ยนแปลงและเสียหายช้าลงนอกจากนี้ผลผลิตที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมจะช่วยทำให้ผลผลิตน่าซื้อและน่าบริโภคมากขึ้น
4.2 หลักในการบรรจุภัณฑ์
การบรรจุหีบห่อผลผลิตประเภทผักผลไม้และผลไม้จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปทั้งนี้ต้องคำนึงถึงหลักในการบรรจุภัณฑ์ดังนี้
1)ลักษณะรูปร่างของผลผลิต
ผลผลิตที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาเช่นองุ่นสตรอเบอรี่มะขามลิ้นจี่ลำไยพริกมะเขือเทศเป็นต้นมักจะบรรจุอยู่ในภาชนะที่มีขนาดเล็กได้แก่ถุงตะกร้าถาดชะลอมกล่องและภาชนะที่มีน้ำหนักเบาเพื่อความสะดวกในการขนย้ายส่วนผลผลิตที่มีน้ำหนักมากเช่นฝรั่งมะละกอสับปะรดมะม่วงแตงโมทุเรียนเป็นต้นจะบรรจุอยู่ในภาชนะขนาดใหญ่แข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้มากๆเช่นเข่งหลัวหรือลังไม้ผลผลิตที่มีรูปร่างทรงกลมหรือค่อนข้างกลมสามารถบรรจุลงในภาชนะได้เลยโดยไม่ต้องจัดวางระเบียบและสามารถซ้อนทับกันได้หลายๆชั้นแต่ผลผลิตที่มีรูปร่างอื่นๆเช่นมะม่วงจะต้องมีการจัดวางให้เป็นระเบียบเพื่อให้สามารถบรรจุได้ปริมาณมากโดยการวางสลับกันระหว่างขั้วผลและปลายผลของแต่ละผลมะละกอมีลักษณะผลและผิวบางซึ่งจะช้ำได้ง่ายถ้าวางซ้อนกันหลายชั้นควรวางลงในภาชนะบรรจุในลักษณะแนวตั้งโดยให้ปลายผลชี้ขึ้นบนและขั้วผลอยู่ด้านล่างเพราะมะละกอจะสุกที่ปลายผลก่อนและทำให้เนื้อมะละกอบริเวณนี้อ่อนนุ่มไม่สามารถรับน้ำหนักได้แต่ส่วนของขั้วผลจะสุกช้ากว่าเนื้อผลบริเวณนี้จึงมีความแน่นและแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่านอกจากนี้ถ้ามีเหตุจำเป็นเช่นมีพื้นที่จำกัดภาชนะบรรจุไม่เพียงพอต้องบรรจุมะละกอในแนวนอนควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หลายชั้นห่อหุ้มผลมะละกอให้มิดชิดก่อนวางซ้อนกันจะช่วยป้องกันความเสียหายจากการรับน้ำหนักของผลได้บ้าง
ผลผลิตที่มีลักษณะผิวอ่อนบางช้ำและฉีกขาดได้ง่ายเช่นองุ่นฝรั่งแคนตาลูปมะเขือเทศพริกยักษ์สตรเบอรี่ควรบุผนังภาชนะบรรจุด้วยกระดาษหรือใบตองเสียก่อนเพื่อป้องกันแรงอัดและถูกขอบที่มีความคมของภาชนะบาดซ้ำและเป็นแผลนอกจากนั้นอาจจะใช้วัสดุห่อหุ้มผลเข่นกระดาษโฟมเป็นต้นห่อหุ้มผลแต่ละผลเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดจากการเสียดสีระหว่างการเคลื่อนย้ายหรือการขนส่งการบรรจุหีบห่อผลผลิตประเภทนี้ไม่ควรบรรจุให้อัดแน่นและมีน้ำหนักมากเกินไป
นอกจากนี้ผลผลิตบางชนิดจะมีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงภายหลังจากการเก็บเกี่ยวเช่นหน่อไม้ฝรั่งช่อดอกซ่อนกลิ่นฝรั่งหรือไม้ตัดดอกชนิดต่างๆจะต้องบรรจุให้อยู่แนวตั้งมิฉะนั้นจะเกิดอาการส่วนของยอดจะโค้งบิดงอทำให้เกิดลักษณะไม่สวยงามและอาจจะไม่เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อได้
2)การป้องกันการสูญเสียน้ำ
ผลผลิตประเภทผักและผลไม้ซึ่งมีน้ำปริมาณมากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญจึงทำให้คงความสดและมีคุณภาพอยู่ได้ถ้าหากมีการสูญเสียน้ำมากๆอาจจะทำให้มีลักษณะเหี่ยวย่นไม่น่าดูฉะนั้นภาชนะที่บรรจุควรมีคุณสมบัติที่ป้องกันการสูญเสียน้ำได้เป็นอย่างดีสามารถระบายความร้อนและอากาศออกได้พอสมควรด้วยเช่นบรรจุลงในถุงพลาสติกหรือห่อหุ้มด้วยฟิล์มพลาสติกเป็นต้นแต่มีผลผลิตบางประเภทเช่นมันฝรั่งหอมหัวใหญ่หอมแดงกระเทียมจะต้องเก็บไว้ในที่ที่แห้งมีความชื้นต่ำเพราะถ้าได้รับความชื้นมากๆจะทำให้เกิดการงอกเพราะฉะนั้นภาชนะบรรจุจะต้องมีคุณสมบัติที่โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเช่นถุงตาข่ายพลาสติกเป็นต้นและจะต้องเก็บรักษาไว้ในที่แห้งด้วย
3)ลักษณะของภาชนะที่ใช้บรรจุ
ผลผลิตบางประเภทที่สามารถนำไปรับประทานได้ทันทีที่บรรจุอยู่ในหีบห่อเช่นผักและผลไม้ชนิดต่างๆจะมีความสดสะอาดและคุณภาพดีน่าสนใจมากกว่าที่ยังไม่ได้บรรจุแต่ภาชนะที่ใช้บรรจุจะต้องมีลักษณะโปร่งใสสามารถมองเห็นภายในได้รอบด้านควรเลือกใช้ฟิล์มพลาสติกที่มีความใสและยอมให้ความร้อนและไอน้ำระบายออกได้พอสมควรเป็นวัสดุห่อหุ้มหรือถ้าใช้ถุงพลาสติกใสจะต้องเจาะรูเป็นบางส่วนเพื่อให้ความร้อนและไอน้ำที่เกิดจากการหายใจและคายน้ำของผลผลิตระบายออกมาได้มิฉะนั้นจะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำกลายเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ที่ผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้ามองเห็นได้ไม่ชัดและอาจจะสะสมความร้อนและความชื้นมากจนเกินไปจนทำให้ผลผลิตนั้นเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้นหรือเน่าเสียได้
วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนภายหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วเช่นการทำความสะอาดการคัดขนาดการบ่มผลผลิตและการบรรจุภัณฑ์ทั้งนี้เพื่อให้ผลผลิตมีความสวยงามมีคุณภาพน่าซื้อน่าบริโภคมากยิ่งขึ้นซึ่งการที่จะปฏิบัติในขั้นตอนใดจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับชนิดของผลผลิตรวมทั้งลักษณะรูปร่างและขนาดของผลผลิตเพราะแต่ละขั้นตอนมีวิธีการปฏิบัติได้หลายวิธีแตกต่างกันออกไปเช่นการทำความสะอาดผลผลิตสามารถที่จะทำความสะอาดด้วยน้ำหรือทำความสะอาดด้วยลมเป็นต้นดังนั้นการปฏิบัติได้อย่างถูกวิธีและเหมาะสมกับชนิดลักษณะรูปร่างและขนาดของผลผลิตจะช่วยให้เก็บรักษาผลผลิตไว้ได้นานผลผลิตทีคุณภาพและเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภคมากขึ้น
ที่มา
: งานเกษตร ช่วงชั้นที่
4 (น้อย สุวรรณมณี)