วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทเรียนที่ 13 การจดบันทึกการปฏิบัติงาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ การจัดการผลผลิต
บทเรียนที่ 13  การจดบันทึกการปฏิบัติงาน
  

การจดบันทึกการปฏิบัติงาน
                       วิธีการที่จะช่วยให้มีข้อมูลที่เพียงพอนั้น ควรจะต้องมีการลงบัญชีและบันทึก
รายละเอียดต่างๆไว้ เช่น รายได้ และรายจ่าย พื้นที่การผลิต ผลผลิต การใช้แรงงานในการผลิต ตลอดจนทรัพย์สินและหนี้สิน และการจดบันทึกการปฏิบัติงาน ทำให้ทราบว่าเกิดปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้าง จำเป็นต้องมีการตัดสินใจอย่างไร และเป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อการสรุปผลดำเนินงานในครั้งนั้น และเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการผลิตในครั้งต่อไปโดยสามารถนำข้อมูลมาปรับปรุงการทำงานให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

1.  ประโยชน์ในการจดบันทึกการปฏิบัติงาน

                     1.1  การจดบันทึกรายการต่างๆไว้ ช่วยป้องกันการหลงลืมอันก่อให้เกิดความผิดพลาด
                          ในการดำเนินการได้
                     1.2  ทำให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินต่างๆที่มีอยู่
                     1.3  ช่วยให้ทราบถึงผลกำไรหรือขาดทุนในการดำเนินงานแต่ละงวดได้
                     1.4  ช่วยให้ทราบฐานะของกิจการว่ามีทรัพย์สิน หนี้สิน และทุนเป็นจำนวนเท่าไร
                     1.5  เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานครั้งต่อไป

                     1.6  สรุปผลการดำเนินงาน

 


2.  การจดบันทึกการผลิต   กิจกรรมการผลิตและดูแลรักษาผลผลิตนั้น มีเรื่องสำคัญที่ควรจดบันทึกไว้เพื่อใช้ปรับปรุงการผลิตในปีต่อไป ดังนี้
          2.1 พันธุ์ ควรมีรายชื่อพันธุ์ต่างๆแต่ละชนิดที่ทำการผลิต รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับพันธุ์นั้นและบริษัทผู้ผลิต ลักษณะของพันธุ์ ผลผลิต อายุการเก็บเกี่ยว โรคและแมลงที่รบกวน
          2.2 สถานที่เพาะปลูก เช่น ดิน ควรเก็บรายงานผลการทดสอบดิน รวมทั้งชนิดและปริมาณปุ๋ยที่ใช้ ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ปริมาณปูนขาวหรือกำมะถันที่ใช้ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงและบำรุงรักษาดินมิให้ขาดธาตุอาหารและรักษาสมดุลของธาตุอาหารตลอดไป
         2.3  สถานที่เลี้ยงสัตว์ เช่น ประเภทของโรงเรือนที่เหมาะสม ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงให้มีสุขาภิบาลสัตว์ที่ดี
          2.4 การปลูกและดูแลรักษา ควรบันทึกเกี่ยวกับวันที่ปลูก วิธีการปลูก ระยะปลูก   วิธีการให้น้ำ วิธีการใส่ปุ๋ย ชนิดและอัตราของปุ๋ยที่ใส่ วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ วิธีการเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยว การจัดการผลผลิตก่อนจำหน่ายและสิ่งสำคัญที่ควรจดบันทึกไว้อย่างละเอียดคือ ปัญหาที่พบและแนวทางในการแก้ไขปัญหา
         2.5 การเลี้ยงและดูแลสุขาภิบาลสัตว์เลี้ยง  ควรบันทึกเกี่ยวกับประวัติต่างๆของสัตว์ตั้งแต่เริ่มเลี้ยง  บันทึกการดูแล เช่น ช่วงเวลาการให้อาหารประจำวัน  ปริมาณการให้ยาปฏิชีวนะแก่สัตว์ ระยะการให้วัคซีน ประวัติการผสมเทียม   การตกลูก   การเป็นโรค  การจัดการผลผลิต  วิธีการจัดการซากก่อนการจำหน่าย    และสิ่งสำคัญที่ควรจดบันทึกไว้อย่างละเอียดคือ ปัญหาที่พบและแนวทางในการแก้ไขปัญหา
          2.4 การตลาด ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการผลิต โดยเฉพาะการผลิตเพื่อจำหน่าย เราควรจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของปริมาณและราคาของผลผลิตแต่ละชนิด

3.  การบันทึกรายรับ-รายจ่าย


                การทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย เป็นการบันทึกข้อมูลการรับและการใช้จ่ายเงินในแต่ละกิจการ เช่น การรับจ่ายเงิน การรับจ่ายผลผลิต การรับจ่ายวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น หากในกิจการใดไม่มีการบันทึก รายรับ-รายจ่าย กิจการนั้นๆจะไม่สามารถควบคุมการใช้เงิน และควบคุมการใช้วัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพได้ ดังนั้นการจัดทำบันทึกรายรับรายจ่ายจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

                3.1  ประโยชน์ของการทำบันทึกรายรับรายจ่าย

                   การทำบันทึกรายรับรายจ่ายมีประโยชน์ต่อกิจการ ดังนี้
                 3.1.1  เป็นข้อมูลที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับการรับและการจ่ายวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต
                3.1.2  ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการขาดวัสดุสิ่งของหรือวัตถุดิบในการผลิต
                3.1.3  ช่วยให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิต อันหมายถึงจำนวนที่ผลิตและจำนวนที่  จำหน่ายได้รวมทั้งจำนวนผลผลิตที่คงเหลือ
                3.1.4  ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
                3.1.5  ทำให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการ เช่น ผลกำไรหรือขาดทุน
                3.1.6  ช่วยให้มีระบบการควบคุมที่ดี ป้องกันการทุจริต
                3.1.7  ช่วยให้การดำเนินงานของกิจการเป็นไปอย่างมีระบบ รวดเร็วและถูกต้อง

              3.2   การทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายบัญชีเงินสด
                                         การทำบันทึกรายรับรายจ่ายสำหรับเจ้าของกิจการหรือผู้จำหน่ายผลผลิต ควรจัดทำอย่างง่ายๆไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เป็นประโยชน์และใช้ได้สะดวกต่อการตรวจสอบ สมุดบันทึกพื้นฐานที่ควรจัดทำก็คือ สมุดบัญชีเงินสด ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
                                           
                    3.2.1   ชื่อกิจการของกิจการนั้นๆซึ่งจะบันทึกไว้ส่วนบนของหน้าบัญชี
                    3.2.2   ชื่อบัญชีเงินสดจัดประเภทบันทึกไว้ส่วนบนของบัญชีเช่นเดียวกัน
                    3.2.3   ช่องวัน เดือน ปี สำหรับบันทึกวันรับ-วันจ่ายเงิน
                    3.2.4  ช่องรายการ สำหรับบันทึกรายละเอียดการรับและการจ่าย
                    3.2.5  ช่องเลขที่ใบสำคัญ เป็นช่องบันทึกหลักฐานสำคัญของการรับและจ่ายโดยนำเลขที่ของใบสำคัญนั้นๆมาบันทึกลงในช่อง
                   3.2.6   ช่องรายการรับ
                   3.2.7   ช่องรายการจ่าย
                   3.2.8  ช่องเงินคงเหลือ





ตัวอย่างการทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายบัญชีเงินสด

ชื่อกิจการ...............

บัญชีเงินสด



วัน/เดือน/ปี

รายการ

เลขที่

ใบสำคัญ

เงินสด

คงเหลือ

รับ

จ่าย

บาท

ส.ต.

ส.ค.       1
              2
              3
              4
              8
ต.ค.       15
              19
              19
              31
              31

นำเงินสดมาลงทุน
ซื้อเมล็ดพันธุ์พืช
ซื้อปุ๋ยอินทรีย์
ซื้อปุ๋ยคอก
ซื้อวัสดุสิ้นเปลือง
ขายผลผลิตผักคะน้า
ขายไม้สมุนไพร
จ่ายค่าพาหนะขนส่ง
ขายไม้ดอกประดับกระถาง
รวมเงินคงเหลือยกไป


58
65
11
24



10,000-




7,000
4,500

2,200 -



800-
 400
300 -
1,800-


300 -

10,000           -
  9,200           -
  8,800           -
  8,500           -
  6,700           -
13,700           -
18,200          -
17,900          -
20,100          -
20,100          -


                 





แบบบันทึกการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

ต้นทุนการผลิตและรายได้จากการปลูกผักกาดขาว พื้นที่ 1 ไร่


                  รายจ่าย

                            1.ค่าพันธุ์                                                                               150           บาท
                            2.ค่าปุ๋ยอินทรีย์                                                                      400           บาท
                            3.ค่าหัวเชื้อราไตรโครเดอร์มาป้องกันโรคพืช                       500           บาท
                            4.ค่าฟางคลุม                                                                          952          บาท
                            5.อื่นๆ                                                                                    318          บาท
                            6.ค่าเตรียมดิน                                                                        600          บาท


                  รวมรายจ่าย                                                                                  2,920          บาท
                  ผลผลิตเฉลี่ย                                                                                 1,860         กิโลกรัม
                  ราคาผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรับละ                                                           3.80             บาท
                  รายได้                                                                                            7,068         บาท
                   กำไร                                                                                              4,148         บาท