วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทเรียนที่ 8 เรื่องการวางแผน

หน่วยการเรียรู้ที่ 4 ความพอเพียง 

บทเรียนที่ 8 เรื่องการวางแผน

การวางแผน
             ปัจจุบันคนไทยทำการเกษตรเชิงเดี่ยว   ซึ่งเลือกปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งไม่ครบวงจร  แล้วเอาผลผลิตไปขายให้กับพ่อค้าคนกลาง  และผลผลิตผลิตออกมาพร้อม ๆ กัน  ทำให้ผลิตผลิตล้นตลาด  ราคาผลผลิตจึงตกต่ำ  และมีการใช้สารเคมี  ซึ่งทำให้ผลผลิตมีต้นทุนสูง  เกษตรกรจึงขาดทุน เกษตรกรไม่พบกับความยั่งยืน  ขาดความมั่นคง  มีสภาพหนี้สินทั้งกับแหล่งสถาบันการเงินในระบบและนอกระบบ จึงเป็นปัญหาที่ควรแก้ไขด้วยการส่งเสริมความรู้ในเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการทำการเกษตรตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ การวางแผนการทำการเกษตรจึงเป็นสิ่งสำคัญในเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นการเกษตรทางด้านพืชหรือด้านสัตว์
ในการวางแผนการเกษตรต้องยึดเป้าหมายในการจำหน่ายเป็นหลัก ในปัจจุบันการประสานงานยังไม่ดีเท่าที่ควร ในด้านการค้ามักจะเน้นหนักการขายสินค้าขั้นปลายไม่ให้ความเอาใจใส่เท่าที่ควร การตลาดระดับไร่นาถึงตัวเกษตรกรโดยตรง การตลาดขั้นต้น คือ ระหว่างเกษตรกรถึงผู้รับซื้อผลิตผลการเกษตรขั้นแรกยังไม่มีหน่วยงานใดดูแลโดยตรง เป็นผลให้อัตราส่วนที่เกษตรกรได้รับสำหรับผลิตผลยังอยู่ในระดับต่ำ จึงควรปรับปรุงวิธีการส่งเสริมในด้านวิชาการทางเกษตรและเผยแพร่ไปสู่เกษตรกรให้ได้ผลยิ่งขึ้น โดยวิธีการประสานมาตรการผลิต การจำหน่ายและการให้
สินเชื่อและบริการแก่เกษตรกรเข้าด้วยกัน โดยผ่านสถาบันของเกษตรกรเองเป็นส่วนใหญ่

การวางแผน คือ ความพยายามที่เป็นระบบ เพื่อการตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำ หรับอนาคตในการทำงานให้บรรลุผลที่ปรารถนา
ความสำคัญของการวางแผน
1. ลดความไม่แน่นอน และ ปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2. ทำให้เกิดการยอมรับในแนวความคิดใหม่ๆ

3. ทำให้การดำเนินการบรรลุถึงเป้าหมาย
4. เป็นการลดความสูญเปล่าที่ซํ้าซ้อน
5. ทำ ให้เกิดความแจ่มชัดในการดำเนินงาน
ประโยชน์ของการวางแผน
1. บรรลุจุดมุ่งหมาย
2. ลดความไม่แน่นอน
3. พัฒนาแรงจูงใจ
4. ประหยัด
5. เป็นเกณฑ์ในการควบคุม
6. พัฒนาการแข่งขัน
7. ส่งเสริมให้เกิดนวตกรรม และ การสร้างสรรค์
8. ทำ ให้เกิดการประสานงานที่ดีกว่า
การวางแผนเพื่อที่จะได้ทำเกษตร ยั่งยืน
        1.วางแผนให้มีรายได้จากการเกษตรตลอดปี    จะต้องวางแผนปลูกไม้ผลหลาย ๆ ชนิด  เพราะไม้ผลให้ผลผลิตออกมาไม่ตรงกัน  เช่น  มะขาม ส้มให้ผลผลิตเดือนมกราคม กุมภาพันธ์มะม่วง  ให้ผลผลิตเดือนมีนาคม เมษายน  ลิ้นจี่ให้ผลผลิตเดือนพฤษภาคม  น้อยหน่า  เงาะ ทุเรียนให้ผลผลิตเดือนมิถุนายน- กรกฎาคม  ลำไยให้ผลผลิตเดือนสิงคม  ลองกอง  ลางสาดให้ผลผลิตเดือนกันยายน    ส้มโอให้ผลผลิตเดือนตุลาคม ฯลฯ นอกจากนี้ประเทศของเรายังมีผลผลิตจากไม้ผลมากมายอีกนับหลายร้อยชนิดที่ให้ผลตลอดทั้งปี  เช่น  ฝรั่ง มะนาว มะพร้าว พุทรา ถ้าเกษตรรู้จักการวางแผนปลูกพืชที่หลากหลาย อย่างละเล็กละน้อยจะเป็นรายได้ตลอดปี  และมีผลไม้รับประทานไม่อดอยาก ไม้ผลทุกอย่างเพียงแต่ปลูกไว้อย่างละต้นให้มีกิน  แล้วจึงคิดเอาไปขาย  
              เกษตรทฤษฎีใหม่ก็เป็นวิธีการทำเกษตรแบบผสมผสาน ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมกับการปลูกพืช  หรือการเลี้ยงสัตว์อื่นร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ  ซึ่งเป็นวิธีที่เอื้ออำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกันเป็นการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีและมีประสิทธิภาพสูง  แต่ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง
        2. วางแผนทำการเกษตรผลิตอาหารให้มีกินตลอดปีโดยไม่ต้องซื้อตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   เช่น  จะต้องปลูกข้าว  มีบ่อเลี้ยงปลา  กุ้ง  หอย กบ  ปลูกพืชผักสวนครัวที่มีความจำเป็น   เลี้ยงเป็ด  ไก่ ห่าน  ฯลฯ ทุกอย่างจะเป็นอาหารสด ๆ ซึ่งมีคุณค่ามากกว่าอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมี 
        3. วางแผนลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในการเกษตรทุกชนิด  เช่น  สารเคมี  ปุ๋ยเคมี  ยาฆ่าแมลง             แล้วหันมาใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ   การผลิตสารสกัดสมุนไพรกำจัดแมลงศัตรูพืช  จากพืชที่มีในท้องถิ่น เลิกการใช้สารเคมี  ปุ๋ยเคมี  สารฆ่าหญ้าทุกชนิด  ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ    ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและโรคระบาดที่เพิ่มมากขึ้น  รวมถึงปัญหาสุขภาพของเกษตรกรที่อ่อนแอลง 
        4.  วางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด  เห็นคุณค่าของมูลสัตว์  ฟางข้าว  ใบไม้  ซังข้าวโพด แกลบ หญ้าสด-หญ้าแห้ง   เศษพืชผักจากตลาดสด  เศษขยะ-เศษอาหาร  ผลไม้ที่มีในท้องถิ่น  ฯลฯ วัสดุที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง  เพราะเมื่อนำมาหมักด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มแล้ว   จะช่วยปรับปรุงบำรุงดิน     ซึ่งเกษตรกรต้องนำเอาเศษวัสดุทุกชนิดที่มีในท้องถิ่น   นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในการที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ  จะช่วยให้เกิดการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนได้   และพึ่งพาตนเองได้ตลอดไป

สรุป      ควรมีการวางแผนการผลิต  หลาย ๆ อย่างในพื้นที่เดียวกัน  ให้เกิดการผสมผสาน เกื้อกูล  นำเอาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด  หลีกเลี่ยงการปลูกพืชเชิงเดี่ยว  หรือปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะมีรายได้ปีละหนึ่งครั้ง ผลผลิตออกมาพร้อม ๆ กันจึงถูกกดราคา  เกษตรกรจำเป็นต้องขายเพื่อแลกเป็นเงินไปเลือกซื้ออาหารในการดำรงชีพ  ดังนั้นเพื่อชะลอราคาผลผลิตตกต่ำเพื่อให้มีอาหารกิน  ต้องวางแผนทำนาให้มีข้าวกิน  มีปลา  เป็ด-ไก่  ไว้เป็นอาหาร  มีพืชผักสวนครัวหลากหลายชนิดเพื่อหลีกเลี่ยงไปจ่ายตลาด  และมีไม้ผลหลากหลายชนิดเอาไว้บริโภค  และไว้จำหน่ายให้เกิดรายได้ตลอดทั้งปี     มีวัวควายเอาไว้กินฟางกินหญ้าในสวน  และใช้แรงงาน  จะได้ใช้มูลสัตว์นำไปทำปุ๋ยหมักเพื่อนำมาปรับปรุงบำรุงดิน  และกาซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนอีกแนวทางหนึ่งในการลดค่าใช้จ่าย