วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทเรียนทีี่2 เรื่องเครื่องมือเกษตร



   

เรื่อง เครื่องมือเกษตร


  เครื่องมือเกษตร หมายถึง อุปกรณ์ที่คนสร้างขึ้น เพื่อช่วยทุ่นแรง และอำนวยความสะดวกในการทำงานด้านการเกษตร  ซึ่งควรมีลักษณะที่เหมาะสมกับประเภทของงาน และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อช่วยให้ทำการเกษตรมีประสิทธิภาพ   รวดเร็วและได้ผลดียิ่งขึ้น
ประเภทของเครื่องมือเกษตร  แบ่งตามลักษณะการใช้กำลังแรง  ไดัดังนี้
                1.  เครื่องมือที่ใช้แรงงานคน เช่น จอบ  เสียม บุ้งกี๋  ช้อนปลูก มีดพร้า คราด  เลื่อย บัวรดน้ำ
 
2.  เครื่องมือที่ใช้แรงงานสัตว์ เช่น ไถ คราด  
3.  เครื่องมือที่ใช้แรงจากพลังงานไฟฟ้า เช่น  เครื่องนวด เครื่องสีข้าว
                4.  เครื่องมือที่ใช้แรงจากเครื่องยนต์ เช่น  รถแทรกเตอร์   รถไถ   รถตัดหญ้า
5.  เครื่องมือที่ใช้แรงจากธรรมชาติ เช่น  ระหัดวิดน้ำ     กังหัน

ประเภทของเครื่องมือเกษตร       แบ่งตามลักษณะของการใช้งาน  ได้ดังนี้
กลุ่มเครื่องมือพืชกรรม
1. เครื่องมือใช้กับงานดิน    เครื่องมือประเภทนี้ใช้สำหรับการทำงานเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับงานดินต่าง ๆ เช่น การเตรียมปรับพื้นที่ การปรับปรุงดิน การผสมดินปุ๋ย
   เครื่องมือที่ใช้กับงานดิน  
                1)  จอบถาก ใช้สำหรับถากหรือดายหญ้า    
                                2)  จอบขุด  ใช้สำหรับย่อยดินหรือขุดดิน 
                3) จอบสองเขาขุด  ใช้ขุดดินที่เหนียว และแข็ง
4) ช้อนปลูก ใช้สำหรับปลูกพืชในกระถาง
5) ส้อมพรวน ใช้สำหรับพรวนดิน หลังจากปลูกพืชแล้ว 
6) เสียม  ใช้สำหรับขุดหลุมปลูกพืช พรวนดิน
7) คราด  ใช้สำหรับเกลี่ยดินให้เรียบ   
8) พลั่วตัก  ใช้ตักดินทราย หรือปุ๋ย 
               9) พลั่วผสม ใช้ในการผสมดินและปุ๋ย   
          http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-6632.html
2. เครื่องมือใช้ในการให้น้ำ เครื่องมือประเภทนี้ใช้ในการดูแลรักษาพืชที่ทำการปลูกแล้ว เช่น การให้น้ำพืช การให้ปุ๋ยบางชนิด การให้สารเคมีรวมทั้งการให้ฮอร์โมนบางชนิดแก่พืช ได้แก่ บัวรดน้ำ สปริงเกอร์ สายน้ำหยด  สายยางน้ำ
3.  เครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติในการบำรุงรักษาพืช เครื่องมือตัดแต่งกิ่งและขยายพันธุ์พืช  เครื่องมือในการเพิ่มจำนวนพืชพรรณต่างๆให้มากขึ้น และตัดแต่งเพื่อเพิ่มผลผลิตให้ต้นไม้ รักษาบำรุงพืช  ได้แก่
                            1) มีดดายหญ้า ใช้ดายหญ้าหรือตัดกิ่งไม้เล็ก ๆ   
            2) กรรไกรตัดกิ่ง  ใช้ตัดกิ่งไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน   1 นิ้ว   
            3) บัวรดน้ำ  ใช้รดน้ำพืชในแปลงเล็ก ๆ 
            4) บุ้งกี๋ ใช้สำหรับขนดิน ทราย ปุ๋ย  
            5) เลื่อยตัดกิ่ง  ใช้ตัดกิ่งไม้ขนาดใหญ่ 
            6) กรรไกรตัดหญ้า ใช้ตัดแต่งทรงพุ่มไม้เพื่อให้ได้รูปทรงที่สวยงาม  
           7)  มีดตอนกิ่ง          
กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์
               เครื่องมือ-อุปกรณ์ โค กระบือ สุกร ไก่
                           1)  ที่ให้น้ำ รางน้ำ อ่างน้ำ ก่อด้วยอิฐ ซีเมนต์ รางน้ำ ที่ให้น้ำ อัตโนมัติ ก่อด้วยอิฐหรือ ซีเมนต์ รางไม้ไผ่ ขวดพลาสติค 
           2)  ที่ให้อาหาร รางซีเมนต์  รางไม้  หรือรางอัตโนมัติ รางสังกะสีหรือพลาสติคหรือถังแขวน
                           3)  เครื่องมือผสมอาหาร 
           4)  ที่เก็บอาหารสัตว์ 
           5)  ยา เวชภัณฑ์   
           6)  เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องทำเครื่องหมายเครื่องตัดเขาเครื่องชั่งน้ำหนัก  ชุดผสมเทียมคีมตัดเขี้ยวคีมตัดใบหู เครื่องตัดปาก  เครื่องฟักไข่  เครื่องกกลูกไก่ฯลฯ  
         7)   เครื่องมือตอนสัตว์ เบอร์ดิซโซหรือคีมหนีบเส้นเลือด มีดผ่าตัด ชุดตอนแบบผ่าข้างแบบฝังหั
    
  การใช้เครื่องมือทุ่นแรงจะทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้  
   1. เครื่องมือทุ่นแรงทำงานได้รวดเร็วทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน
                  2. เกษตรกรสามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกได้มากขึ้น
                  3.  เครื่องมือทุ่นแรงช่วยให้สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่างๆ ของการเพาะปลูกได้ทันฤดูกาล
                  4.  ลดการสูญเสียผลิตผลในช่วงการเก็บเกี่ยว
                 5.  ลดขั้นตอนการทำงานและลดความเหนื่อยของเกษตรกรในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม       
   
 หลักการใช้ การเก็บ และการบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์เกษตรกรรม
  1. หลังทำงานเสร็จทุกครั้งให้ทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์  พร้อมตรวจสอบดูการชำรุดสึกหรอ หากพบให้รีบซ่อมแซมให้เรียบร้อย
                2. เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นโลหะ ให้ชะโลมน้ำมันเพื่อกันสนิม เครื่องยนต์ต้องถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนด เติมน้ำ เติมลมให้ได้พอดี
                3. ทำบัญชีเครื่องมืออุปกรณ์ เพื่อช่วยความจำ จัดเก็บให้เป็นที่เป็นทาง เป็นระเบียบ หมวดหมู่ จัดเก็บให้พ้นแดดพันฝน
               4. เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ให้ถูกกับลักษณะงานที่ทำ อย่าใช้งานหักโหม
               5. ขณะใช้งานต้องคอยสังเกตสิ่งผิดปกติ เช่นเสียง กลิ่น ถ้าพบต้องหยุดเพื่อหาสิ่งบกพร่อง แล้วรีบแก้ไข
               6.ขณะใช้งานต้องแต่งกายให้รัดกุม เพราะอาจเกิดอันตรายได้
               7. เครื่องอุปกรณ์ที่ได้มาใหม่ ต้องศึกษาวิธีการใช้ให้เข้าใจ และควรทำตามคู่มือการใช้อย่างเคร่งครัด
               8.เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีความสลับซับซ้อน หากชำรุดเสียหาย ต้องให้ผู้ชำนาญการเป็นผู้ซ่อมแซม 
             ในปัจจุบันเครื่องมืออุปกรณ์การเกษตรมีการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเป็นจำนวนมาก  และมีราคาแพง เราควรทำการศึกษาถึงมาตรฐานความปลอดภัยโดยสังเกตเครื่องมือที่มีการรับรองมาตรฐานจาก หน่วยงานต่างๆเช่นสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) โดยดูเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.)เพื่อสร้างคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยและรักษาสิ่งแวกล้อมที่ดี  แต่บางอย่างเราอาจศึกษาหาวิธีทำขึ้นมาใช้เองได้ก็จะเป็นการประหยัด การรู้จักใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างฉลาดนั้นจะทำให้การประกอบอาชีพทางการเกษตรประสบความสำเร็จที่มา http://www.geocities.com/blcp8523/ag1.html