เรื่อง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานเกษตร
การ
เกษตรเป็นอาชีพหลักของคนไทย ซึ่งคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ทำให้การเกษตรมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ
เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากสินค้าเกษตร
ความหมายของการเกษตร
การ เกษตร คือ
การปฏิบัติต่อดินเพื่อให้เกิดผลผลิต ทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ การทำประมง
และการเกษตรผสมผสานโดยอาศัยความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ทรัพยากรธรรมชาติ
และเงินทุน เพื่อให้ได้ผลผลิตต่างๆ
ความสำคัญของการเกษตร
การ
เกษตรมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์อย่างมากมายจากพืช สัตว์
ทั้งในชีวิตประจำวันและการดำรงชีวิต
ประโยชน์ชองการเกษตร
ในอดีตมนุษย์มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติในการดำรงชีวิตโดยการล่าสัตว์
เก็บพืชผลจากป่ามาเป็นอาหาร ต่อมาเริ่มพัฒนาเพื่อความอยู่รอด รู้จักเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ จึงเป็นจุดเริ่ม ต้นของการทำการเกษตร
ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน แม้วิทยาการ ต่าง ๆ
จะเจริญก้าวหน้าขึ้น
มนุษย์ก็ยังคงอาศัยผลผลิตที่ได้จากการเกษตรเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตเช่นเดิม คือ
1 เป็นวัตถุดิบในการผลิตปัจจัย 4
2 เป็นงานที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกร
3 เป็นแหล่ง
ให้ความร่มรื่นสวยงาม
4 ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
5. เป็นสินค้าส่งออกของประเทศ
การเกษตร
แบ่งได้เป็น 4 ประเภท
1. การปลูกพืช ได้จัดแบ่งลักษณะตามการปลูกและดูแลรักษาเป็น
3 ชนิด ได้แก่
1.1
พืชสวน หมายถึง
พืชที่ปลูกในเนื้อที่น้อย สามารถให้ผลตอบแทนสูง ต้องการดูแลรักษามาก
แบ่งย่อยได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1)ไม้ดอกไม้ประดับ http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=5&page=t30-5-infodetail05.html
1.2 พืชไร่ หมายถึง
พืชที่ปลูกโดยใช้เนื้อที่มาก มีการเจริญเติบโตเร็ว
ไม่ต้องการดูแลรักษามากเหมือนพืชสวน ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก มีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ถึง 1 ปี หรือมากกว่า
ผลผลิตของพืชไร่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของคนไทย
โดยใช้บริโภคเป็นอาหารหลัก และส่งเป็นสินค้าออกจัดเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศซึ่งสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากเช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ถั่วต่างๆ ยาสูบ
ฝ้าย มันสำปะหลัง เป็นต้น
1.3 พืชสมุนไพร หมายถึง พืชทุกชนิดที่มีสรรพคุณทางยารักษาบำบัดโรคแต่กระนั้นก็จำเป็นต้องมีความรู้ในพืชแต่ละชนิดเพราะหากใช้ผิดวิธีหรือไม่ตรงกับอาการของโรคอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น หอมแดงบรรเทาโรคหวัด ว่านหางจระเข้รักษาแผลน้ำร้อนลวก ขี้เหล็กรักษาโรคท้องผูก มะระลดน้ำตาลในเลือด เสลดพังพอนแก้พิษแมลง กระเทียมรักษากลากเกลื้อน ดอกบานไม่รู้โรยแก้โรคหอบหืด เป็นต้น
1.3 พืชสมุนไพร หมายถึง พืชทุกชนิดที่มีสรรพคุณทางยารักษาบำบัดโรคแต่กระนั้นก็จำเป็นต้องมีความรู้ในพืชแต่ละชนิดเพราะหากใช้ผิดวิธีหรือไม่ตรงกับอาการของโรคอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น หอมแดงบรรเทาโรคหวัด ว่านหางจระเข้รักษาแผลน้ำร้อนลวก ขี้เหล็กรักษาโรคท้องผูก มะระลดน้ำตาลในเลือด เสลดพังพอนแก้พิษแมลง กระเทียมรักษากลากเกลื้อน ดอกบานไม่รู้โรยแก้โรคหอบหืด เป็นต้น
2. การเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ในแง่การใช้แรงงานลดน้อยลง
แต่จะมีบทบาทมากในแง่ของการเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหารเนื่องจากผู้บริโภคนิยม บริโภคเนื้อสัตว์กันอย่างแพร่หลาย
อีกทั้งยังสามารถส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย ได้แก่
2.1 สัตว์เล็ก http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_o_ebook/pdf/026/0026_33.pdf
2.2 สัตว์ใหญ่ http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_o_ebook/pdf/026/0026_33.pdf
2.3 สัตว์ปีก
วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงสัตว์ แบ่งออกได้ดังนี้
1.เพื่อไว้ใช้บริโภค
2.เพื่อไว้ใช้แรงงาน
3.เพื่อประกอบอาชีพ
4.เพื่อเสริมรายได้
5.เพื่อใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทำเครื่องนุ่งห่มของใช้และรักษาโรค
6.เพื่อความสวยงามและความเพลิดเพลิน
7.เพื่อใช้ประโยชน์ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์
2.1 สัตว์เล็ก http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_o_ebook/pdf/026/0026_33.pdf
2.2 สัตว์ใหญ่ http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_o_ebook/pdf/026/0026_33.pdf
2.3 สัตว์ปีก
วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงสัตว์ แบ่งออกได้ดังนี้
1.เพื่อไว้ใช้บริโภค
2.เพื่อไว้ใช้แรงงาน
3.เพื่อประกอบอาชีพ
4.เพื่อเสริมรายได้
5.เพื่อใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทำเครื่องนุ่งห่มของใช้และรักษาโรค
6.เพื่อความสวยงามและความเพลิดเพลิน
7.เพื่อใช้ประโยชน์ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์
3. การประมง เป็นการเกษตรเกี่ยวกับการเลี้ยงและการจับสัตว์น้ำทุกชนิดของประเทศไทยซึ่งการทำประมงนี้สามารถสร้างรายได้ให้ประชาชน และประเทศเป็นจำนวนมาก
การทำประมงในประเทศไทยสามารถแบ่งออกตามลักษณะของแหล่งน้ำได้ 3 ประเภท คือ
3.1 การประมงน้ำจืด
3.1 การประมงน้ำจืด
3.2 การประมงน้ำเค็ม
3.3 การประมงน้ำกร่อย
3.3 การประมงน้ำกร่อย
4. การเกษตรแบบผสมผสาน การ
เกษตรผสมผสานเป็นการจัดระบบกิจกรรมการเกษตรได้แก่ ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ประมง
ให้มีการผสมผสานและเกื้อกูลในการผลิตซึ่งกันและกัน
โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
มีความสมดุลของสภาพแวดล้อม
เพิ่มความสมบูรณ์ของอาหารพืชหรือสัตว์การทำเกษตรหลายๆอย่างร่วมกันทำให้
เกษตรกรมีรายได้จากผลผลิตเพิ่มขึ้น
ตลอดจนไม่เสี่ยงต่อสภาวะการขาดทุนจากราคาผลผลิตเพียงอย่างเดียวที่มีราคาไม่
แน่นอนปัจจุบันรัฐบาลส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางในการทำการเกษตรเช่น
4.1 เกษตร ทฤษฎีใหม่ คือ
แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรได้ บริหาร
และจัดการเกี่ยวกับดิน น้ำ
ให้มีประโยชน์สูงสุดเพื่อบังเกิดผลผลิตและรายได้มาเลี้ยงตนเองและครอบครัว
โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างเพียงพอเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมกับช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชนด้วยความร่วมมือจากองค์กรภายนอกเช่นสถาบันการเงินและหน่วยงานต่างๆของรัฐ
4.2 การเกษตรแบบยังชีพ คือ การผลิตเพื่อยังชีพใช้กินเป็นอาหารภายในครอบครัวไม่ได้ผลิตหรือปลูก
มากเหลือใช้พอที่จะส่งไปขายนอกท้องถิ่นได้
4.4 การเกษตรแบบยั่งยืน คือ การเกษตรที่เกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อรักษาดุลยภาพทางธรรมชาติและปรับปรุง
สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกันซึ่งการเกษตรแบบนี้เป็นการทำการเกษตรเพื่อต้องการให้
เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ทั้งการผลิตและการดำรงชีพโดยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด
ที่มา:http://taung009.igetweb.com/index.php?mo=10&art=188395
ที่มา:http://taung009.igetweb.com/index.php?mo=10&art=188395