วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทเรียนที่ 4 เรื่องเทคโนโลยีการเกษตร



  เทคโนโลยีการเกษตร

ความหมายของเทคโนโลยี
- พจนานุกรมไทยให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า “คือการประยุกต์ทางวิชาช่าง”
- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีคือวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลป ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและ อุตสาหกรรม
- สรุปความหมายของ ”เทคโนโลยี” หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติด้านอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ซึ่งมีผลต่อการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตของมนุษย์

เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร
- หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการเกษตร ได้แก่
1. ด้านการจัดการสาขาพืชและการจัดการสาขาสัตว์การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
2. การจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้แก่เกษตรกร
3. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกร
4. การให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร
5. การศึกษา วิจัย ค้นคว้า และทดลอง
6. การวางแผนการดำเนินงาน และการจัดการ


ตัวอย่าง

- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ : เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการเกษตร

(ศรีสม สุวรรณวงศ์)

การ พัฒนาทางด้านการเกษตรของไทยได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กันอย่างกว้างขวาง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก็เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ชนิดหนึ่งที่ประสบความ สำเร็จและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือแม้แต่ในเชิงการค้า

สำหรับ ทางด้านการเกษตรนั้นได้มีการนำเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาใช้กันมาก เช่น การขยายสายพันธุ์ โดยการใช้ชิ้นส่วนของพืชมาขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และทำให้ได้ต้นพืชที่ตรงตามพันธุ์เดิม ในปริมาณมาก และในเวลาจำกัด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและได้รับความสำเร็จอย่างมากในเชิงการค้า ได้แก่ การขยายพันธุ์กล้วย ไม้ สกุลต่างๆ การปรับปรุงพันธุ์ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสร้างพืชที่มีจำนวนโครโมโซมต่างจากปกติ การถ่ายละอองเกสรและผสมเกสร ในหลอดแก้ว การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยการใช้รังสีหรือสารเคมี หรือการผสมพันธุ์โดยใช้โปรโตพลาสต์ การคัดเลือกพันธุ์ เช่น การคัดเลือกพันธุ์พืชที่ทนทานต่อความเค็มหรือต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช ถึงแม้ว่าการคัดเลือกดังกล่าวจะสามารถ ทำได้ใน แปลงทดลองแต่ก็ต้องใช้ต้นพืชจำนวนมาก ทำให้เปลืองพื้นที่ เวลา และค่าใช้จ่ายมาก ถ้านำเอาเทคนิคการ เพาะเลี้ยงเนื้อ เยื่อมาใช้ปัญหาดังกล่าวก็จะหมดไปการผลิตพืชที่ปราศจากโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมักจะติดไปกับเนื้อเยื่อหรือชิ้นส่วนของพืชเสมอ การผลิตพืชที่ปราศจาก เชื้อไวรัส นี้ต้องตัดส่วนยอดของพืชให้มีขนาดเล็กมากๆ ประมาณ 0.01–0.05 มม. ซึ่งคาดว่าเชื้อไวรัสไม่สามารถแพร่ขยาย ไปถึง บริเวณดังกล่าว แล้วนำชิ้นส่วนของพืชนี้ไปขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศต่อไปการเก็บรักษาพันธุ์ พืช
วิธี การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทำให้การเก็บรักษาพันธุ์พืชสามารถทำได้ในพื้นที่ จำกัด ประหยัดแรงงานในการดูแลรักษา และปลอดภัยจากศัตรูพืช ภัยธรรมชาติ และการกลายพันธุ์อย่างไรก็ตาม เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย รวมทั้งการศึกษาทางด้านชีวเคมี สรีรวิทยาของพืช และทางด้านพันธุกรรม นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วย
 เพิ่มเติมได้ที่    https://sites.google.com/site/2200405chu/thekhnoloyi-xahar
                           https://www.moac.go.th/main.php?filename=Project05


                      เทคโนโลยีชีวภาพ...การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา...ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
                                               
ไตรโคเดอร์มาเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง เส้นใยมีผนังกั้นแบ่ง มีประโยชน์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้อย่างกว้างขวาง ทั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่เป็นเชื้อราชั้นสูงและชั้นต่ำ
          ในประเทศไทยได้มีการศึกษาค้นคว้าประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเพื่อควบคุมโรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน  โรคกล้าไหม้ โรครากเน่า โรคโคนเน่า บนพืชหลายชนิด เช่น มะเขือเทศ ถั่วเหลืองฝักสด พริก ฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ ส้ม ทุเรียน พบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้ดี
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
      เป็นเชื้อราที่มีประโยชน์สามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคพืชหลายชนิด ได้แก่
      1.ป้องกันโรคเน่าโคนเน่าของไม้ผล ไม้ยืนต้น ที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา (phytophthora spp.)
      2.ป้องกันโรคเน่าระดับดิน ของพืชผักหลายชนิด โรคใบติดในพืชผล ที่เกิดจากเชื้อรา ไรซ็อกโทเนีย (Rhizoctonia solani)
      3.ป้องกันโรคเมล็ดเน่า ของพืชผัก โรครากเน่า โรคโคนเน่าของไม้ผล เช่นทุเรียน ที่เกิดจากเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.)
      4.ป้องกันโรคเหี่ยว ของพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium spp.)
      5.ป้องกันโรคเหี่ยว โรคโคนเน่า ของผักหลายชนิด ที่เกิดจากเชื้อราสเคลอโรเทียม (Sclerotium rolfsii)
      6.ป้องกันและกำจัดโรคไหม้ในข้าว
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคพืช
      1.การใช้เพื่อป้องกันโรค (พืชยังไม่แสดงอาการของโรค) เริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ด การเตรียมต้นกล้าพืช การปลูกในสภาพธรรมชาติ จนถึงระยะพืชเจริญเติบโตให้ผลผลิต
      2.การใช้เพื่อรักษาโรค (พืชแสดงอาการของโรคแล้ว) การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเพื่อรักษาพืชที่เป็นโรคแล้วนั้น มีความเป็นไปได้ ในกรณีของพืชยืนต้น เช่นไม้ผล แต่ถือว่าเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง เพราะอาจไม่ประสบผลสำเร็จดังที่คาดหวังเสมอไป จึงมีความจำเป็นต้องใช้วิธีอื่นร่วมด้วยหากมีการระบาดรุนแรง
วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
      1.การคลุกเมล็ดเพื่อป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ โดยใส่เชื้อลงในถุงพลาสติกที่จะใช้คลุกเมล็ดอัตรา 10 กรัม หรือ 1 ช้อนแกง ต่อ เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี แล้วบีบเชื้อสดให้แตกตัว ก่อนใส่เมล็ดลงในถุง
      2.การรองก้นหลุม โรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าลงในหลุมโดยต้องคลุกเคล้าเชื้อสดกับดินในหลุมก่อนนำกล้าพืชลงปลูก โดยหลุมปลูกเล็กใช้เชื้อสดอัตรา 5 ช้อนแกง หลุมปลูกใหญ่ใช้เชื้อสดอัตรา 150-300 กรัม (2-3 ขีด)
      3.การผสมกับวัสดุปลูก ใช้สำหรับเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ดหรือถุงเพาะชำ โดยนำเชื้อสดที่ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก (1 : 40 โดยน้ำหนัก) มา 1 ส่วน ผสมกับวัสดุปลูก 4 ส่วน โดยปริมาตร ผสมเข้ากันดีแล้วจึงนำไปเพาะเมล็ด
     4.การหว่านลงดิน ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัม รำ 4 กิโลกรัม ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 40 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน หว่านโคนต้น ใช้อัตรา 30-60 กรัม (3-6 ช้อนแกง) ต่อต้น หว่านใต้ทรงพุ่ม ใช้อัตรา 150-300 กรัม (2-3 ขีด) ต่อตารางเมตร
      5.การฉีดพ่น เป็นวิธีที่สะดวก ง่ายต่อการปฏิบัติ โดยฉีดพ่นลงดินบริเวณรากพืชและส่วนบนของต้นพืช การใช้เชื้อสดผสมน้ำ จึงจำเป็นต้องกรองเอาเฉพาะน้ำเชื้ออกมา เพื่อไม่ให้เมล็ดข้าวฟ่างอุดตันหัวฉีด กรณีฉีดพ่นลงดินใช้อัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร พ่นส่วนบนของพืช ใช้อัตรา 2 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร
      6.วิธีอื่น ๆ เช่น การให้ไปกับระบบน้ำ การทาแผล    เป็นต้น
ข้อจำกัดในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
      1.สภาพแวดล้อมต้องมีความชื้นเหมาะสม ไม่ชื้นแฉะ
      2.ควรใช้ในช่วงเช้าหรือเย็น เพราะในช่วงกลางวันที่มีอากาศร้อนแสงแดดจัด จะทำให้เชื้อตาย
      3.ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในช่วง 7 วัน ก่อนหรือหลังการหว่านเชื้อที่ผสมแล้วลงดิน
      4.ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก
ขั้นตอนการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
     เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด หมายถึง เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่กำลังเจริญอยู่บนอาหารวุ้นสำหรับเลี้ยงเชื้อ หรือบนอาหารจำพวกเมล็ดพืช โดยเห็นอยู่ในรูปสปอร์สีเขียวปกคลุมวัสดุอาหารอย่างทั่วถึง  ไม่มีการปนเปื้อนที่ทำให้เห็นสปอร์เป็นสีอื่น มีเมือกเยิ้มหรือมีกลิ่นเหม็น

ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
     1. สามารถลดกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
     2. สามารถลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืช
     3. สามารถเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช
     4. สามารถเพิ่มความต้านทานของพืช
วัตถุประสงค์
     เพื่อให้สามารถผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาสำหรับใช้ในการควบคุมโรคพืชได้ด้วยตนเอง โดยใช้หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา (รูปผงแห้ง) ที่มีประสิทธิภาพสูง เลี้ยงบนข้าวเหนียวหรือข้าวสารหุงจนสุกแล้ว
อุปกรณ์
     อุปกรณ์ขยายเชื้อสด
1.             ข้าวเหนียวนึ่งหรือข้าวสุก
2.             ถุงใสทนร้อนขนาด 8x10 นิ้ว
3.             หนังยางวง
4.             เข็ม
5.             หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา
         ที่มา  http://www.chumphon.doae.go.th/trico/trico05.html