หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 / บทเรียนที่ 7 กระบวนการผลิตสัตว์ เรื่องสัตว์เล็ก
เรื่อง
สัตว์เล็ก
สัตว์เล็กเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดไม่เกิน 500 กิโลกรัม มีช่วงชีวิตและอายุปานกลางสามารถให้ผลผลิตได้ในระยะสั้น มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ได้แก่ สุกร แพะ แกะ กวาง จิงโจ้ และกระต่าย เป็นต้น สัตว์เล็กมีความสำคัญมากต่อชีวิตมนุษย์เพราะสามารถนำตัวสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เล็กมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆอีก
1.
สัตว์เล็กเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญซึ่งเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง
มีคุณค่าต่อร่างกายมาก เช่น เนื้อสุกร แพะ แกะ กวาง จิงโจ้ และกระต่าย
นอกจากมนุษย์จะนำเนื้อสัตว์มาเป็นอาหารแล้ว มนุษย์นิยมบริโภค นมแพะ
2.
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เล็กสามารถนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มและของใช้ต่างๆ ได้หลายชนิด
เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า กระเป๋า เป็นต้น
3.
สัตว์เล็กเป็นแหล่งให้ความเพลิดเพลิน แก่มนุษย์คือสามารถนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงได้
เช่น กระต่าย กวาง และจิงโจ้ เป็นต้น
4.
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เล็กสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคได้
ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ได้แก่ เขากวางอ่อน เป็นต้น
5.
สัตว์เล็กสามารถนำมาใช้เป็นแรงงานในการทำการเกษตรได้ เช่น
ขนส่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นต้น
6.
สัตว์เล็กเป็นแหล่งให้ประชาชนที่ต้องการประกอบอาชีพโดยการเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้
7.
สัตว์เล็กเป็นแหล่งให้เกิดอุตสาหกรรมการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
อุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์และอุตสาหกรรมอาหารจากสัตว์ เป็นต้น
8.
สัตว์เล็กสามารถนำมาเป็นสัตว์ทดลองทางวิทยาศาสตร์ได้ เช่น หนู และกระต่าย เป็นต้น
9.
สิ่งปฏิกูลจากสัตว์เล็กสามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น ปุ๋ย และก๊าซชีวภาพ
เป็นต้น
การเลี้ยงสัตว์เล็กมีปัจจัยสำคัญที่เป็นองค์ประกอบในการเลี้ยง
ซึ่งปัจจัยต่างๆล้วนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไม่กว่ากัน
ต้องขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ของสัตว์เล็กที่เลี้ยงเป็นหลัก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การเลือกสถานที่เลี้ยงสัตว์
สถานที่เลี้ยงสัตว์เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการเลี้ยงสัตว์เล็ก
สถานที่นั้นจะต้องมีแหล่งน้ำที่ใช้ได้ตลอดปี
เพื่อให้สัตว์เล็กใช้ดื่มกินและชะล้างสิ่งสกปรก ต้องเป็นสถานที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง
ควรมีความสะดวงทางด้านการคมนาคมขนส่ง
เพื่อสะดวกในการขนส่งอาหารและลำเลียงสัตว์ไปจำหน่าย เป็นสถานที่ปราศจากโรคระบาดมาก่อน
เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรคของสัตว์ ควรเลือกสถานที่ตั้งที่ไม่รบกวนชุมชน
เพราะสัตว์อาจก่อให้เกิดความรำคาญให้กับสมาชิกให้ชุมชนได้ เช่น สัตว์ร้องเสียงดัง
กลิ่นจากมูลสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้
สถานที่เลี้ยงควรเป็นสถานที่ที่สามารถขยายกิจการได้เมื่อมีกิจการเจริญเติบโตขึ้น
สิ่งแวดล้อมในบริเวณที่เลี้ยงสัตว์ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยง เช่น
เป็นบริเวณที่มีขโมยชุกชุม เป็นบริเวณที่เกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง เป็นต้น
2.
การเลือกชนิดและพันธุ์สัตว์เล็ก
การเลือกชนิดและพันธุ์เล็กที่ทำการเลี้ยงเป็นสิ่งสำคัญมาก
พันธุ์สัตว์ที่ดีจะต้องเป็นพันธุ์ที่สามารถเจริญเติมโตเร็ว
ให้ผลผลิตสูงทั้งสัตว์ประเภทให้เนื้อและให้นม ใช้ระยะเวลาเลี้ยงสั้น ทนทานต่อโรค
ภูมิอากาศและ สภาพแวดล้อม มีลักษณะเด่นเฉพาะพันธุ์ คือ ประวัติดี
ลักษณะรูปร่างสมส่วนตามพันธุ์ มีสุขภาพดี และไม่ดุร้าย นอกจากนั้น
จะต้องพิจารณาถึงความต้องการของตลาดและแนวโน้มความต้องการในอนาคตว่าต้องการสัตว์ชนิดใดอนาคตว่าต้องการสัตว์ชนิดใดพันธุ์ใด
ตลอดจนราคาที่มีการซื้อขายในท้องตลาดด้วย
ต้องให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในบริเวณสถานที่เลี้ยงสัตว์เป็นสำคัญ
ควรคำนึงถึงวัตถุดิบในชุมชนและท้องถิ่นว่าสามารถนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์เล็กชนิดใดได้เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนได้เป็นอย่างดี
เช่น บริเวณพื้นที่ที่มีหญ้า ใบไม้ และวัชพืชมากก็สมควรเลือกเลี้ยงแพะเป็นต้น
3.
การเลือกสถานที่สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เล็ก
โรงเรือนเลี้ยงสัตว์เล็กเป็นสถานที่ที่สำคัญและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สัตว์เล็กเจริญเติบโตได้ดีไม่เป็นโรคตลอดจนความสะดวกต่อการดูแลและเลี้ยงดู
โรงเรือนเลี้ยงสัตว์เล็กที่ดีนั้นจะต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับชนิดและประเภทของสัตว์เล็กที่เลี้ยง
สามารถดูแลความสะอาดง่าย มีทางระบายน้ำรอบโรงเรือง ระบายอากาศ แสงแดดส้องถึง
ไม่อับชื้น พื้นโรงเรือนแห้งเสมอ โรงเรือนควรเป็นแบบง่ายๆ
สามารถทำการดัดแปลงเลี้ยงสัตว์ ได้หลายชนิดและหลายประเภท เช่น แบบเพิงหมาแหงน
แบบหน้าจั่ว เป็นต้น และที่สำคัญคือ ต้องมีราคาไม่แพงจนเกินไป
สามารถใช้วัสดุในชุมชนและท้องถิ่นทำการก่อสร้างได้
4.
วัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์เล็ก
วัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์เล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะขาดเสียมิได้
เพราะสัตว์แต่ละชนิดแต่ละพันธุ์มีการใช้อุปกรณ์ในการเลี้ยงที่แตกต่างกัน
สัตว์บางชนิดต้องใช้อุปกรณ์ในการเลี้ยงมาก
สัตว์บางชนิดต้องใช้อุปกรณ์ในการเลี้ยงน้อยทั้งที่ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและประโยชน์ในการใช้เป็นสำคัญ
อุปกรณ์ชนิดใดมีความจำเป็นกับสัตว์ชนิดนั้นมากจึงควรจัดหามาใช้ก่อน
เพราะการซื้ออุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์เล็กจำเป็นต้องใช้เงินทุนพอสมควร
แต่ถ้าเราสามารถประยุกต์เอาของพื้นบ้านมาใช้แทนได้ก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายอีกวิธีหนึ่ง
5. การให้อาหารสัตว์เล็ก
การให้อาหารสัตว์เล็กเป็นหัวใจที่สำคัญในการเลี้ยงสัตว์เล็กให้ประสบความสำเร็จ
อาหารที่จำให้สัตว์เล็กนั้นจะต้องให้อาหารให้ถูกกับชนิดและพันธุ์ที่เลี้ยง
เพื่อให้สัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารได้ อย่างเต็มที่
เวลาและจำนวนในการให้อาหารสัตว์มีส่วนสำคัญ
ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความต้องการของสัตว์เป็นหลัก
ถ้าให้อาหารมากหรือน้อยเกินไปย่อมเกิดผลเสียต่อสัตว์ได้ เช่น การเจริญเติบโตช้าลง
มีปริมาณน้ำนมน้อย และเกิดโรคกับสัตว์ เพราะมีความต้านทานโรคน้อย เป็นต้น
อาหารสัตว์เล็กมีในหลายรูปแบบ เช่น อาหารข้นและอาหารหยาบ
ในปัจจุบันได้มีอาหาสำเร็จรูปอันเม็ดออกจำหน่าย
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอาหารชนิดใดต้องมีสารอาหารครบถ้วน 6 ชนิด คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต
ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน และน้ำ อาหารที่ดีเมื่อสัตว์กินแล้วจะทำให้เจริญเติบโตรวดเร็ว
มีร่างกายแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี
การให้อาหารสัตว์เล็กไม่จำเป็นต้องซื้ออาหารเสมอไป
การนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชนและท้องถิ่นมาปรับปรุงเป็นอาหารสัตว์เล็กก็สามารถกระทำได้
ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตอีกวิธีหนึ่ง ทั้งนี้อาหารสัตว์ที่ปรับปรุงขึ้นจะต้องมีคุณค่าสารอาหารครบทั้ง
6 ชนิด เพียงพอต่อความต้องการของสัตว์เลี้ยงด้วย
6.
การสุขาภิบาลและป้องกันโรคสัตว์เล็ก
การสุขาภิบาลและการป้องกันโรคเป็นขั้นตอนหนึ่งของผู้เลี้ยงต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับสัตว์ที่ตนเองเลี้ยง
การสุขาภิบาลและการป้องกันโรคการทำให้สัตว์มีภูมิต้านทานโรค
ซึ่งสาเหตุที่ทำให้สัตว์เป็นโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส อาหาร
และพยาธิเป็นหลัก วิธีการสุขาภิบาล
และการป้องกันโรคสัตว์เล็กสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์สัตว์เล็กที่เลี้ยงเป็นหลัก
เช่น การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ การฉีดยาใต้ผิวหนัง การผสมยาให้อาหารและในน้ำ เป็นต้น
นอกจากนี้ การปฏิบัติงานภายในฟาร์มก็เป็นส่วนสำคัญ ดังนั้น
ผู้เลี้ยงจะต้องปฏิบัติให้ตรงตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนด และจะต้องมีความเอาใจใส่
ดูแล สังเกตพฤติกรรมสัตว์เล็กที่ตนเองเลี้ยงอยู่เสมอ
เพื่อจะได้ทำการป้องกันและกำจัดโรคที่เกิดกับสัตว์ของตนอย่างรวดเร็ว
7. การกำจัดขอเสียจากสัตว์เล็ก
ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ชนิดใดพันธุ์ใดเมื่อทำ
การเลี้ยงย่อมต้องมีของเสียเกิดขึ้นนี้ถ้าจัดการไม่ดีจะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย
เช่น ส่งกลิ่นรบกวนสมาชิกในชุมชน
ทำให้เกิดการหมักหมมเป็นแหล่งสะสมและก่อให้เกิดโรคกับสัตว์ได้ ดังนั้น
ของเสียที่เกิดขึ้นนั้นถ้าผ่านการจัดการและดำเนินการอย่างถูกวิธีจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล
เช่น มูลสัตว์สามารถนำไปหมักเป็นก๊าซชีวภาพใช้หุงต้มอาหารหรือใช้อบผักผลไม้ได้
มูลสัตว์และน้ำที่ผ่านการทำความสะอาดโรงเรือนสามารถนำไปทำปุ๋ยให้แก่ต้นไม้ได้เป็นอย่างดี
เป็นต้น
ถ้าปฏิบัติดังที่กล่าวข้างต้นของเสียที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์เล็กจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
8.
การจำหน่ายผลผลิตจากสัตว์เล็ก
ผลผลิตของสัตว์เล็กแต่ละชนิดแต่ละประเภทจะมีผลผลิตที่แตกต่างกัน
และยังแตกต่างกันตามจุดประสงค์ที่เลี้ยงอีกด้วย เช่น ผลผลิตที่ได้จากแพะ คือ น้ำนม
เนื้อ และลูก ผลผลิตที่ได้จากกวาง คือ เขาอ่อน เนื้อ และลูก เป็นต้น
การจำหน่ายผลผลิตเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สามารถชี้ให้เห็นว่าการเลี้ยงสัตว์เล็กประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
เมื่อเราทำการเลี้ยงสัตว์เล็กประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
เมื่อเราทำการเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างดีจนครบช่วงระยะเวลาที่จำหน่ายผลผลิต
แต่ไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตได้หรือจำหน่ายได้ราคาต่ำแสดงว่าการเลี้ยงสัตว์เล็กนั้นๆ
ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ จะเห็นว่าได้การจำหน่ายผลผลิตจะเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกชนิดและพันธุ์ที่เลี้ยงตั้งแต่ต้น
ถ้าตลาดมีความต้องการสูงผลผลิตย่อมได้ราคาสูงตามไปด้วย
ซึ่งราคาที่เกิดขึ้นนี้จะดำเนินไปตามกลไกของตลาดเป็นหลัก
การจำหน่ายผลผลิตสามารถจำหน่ายได้ในหลายแหล่ง เช่น ขายแก่พ่อค้าคนกลาง
นำไปขายในตลาดต่อผู้บริโภคโดยตรง นำไปขายให้แก่หน่วยงานหรือบริษัทที่รับซื้อ
เป็นต้น
9.
การแปรรูปผลผลิตจากสัตว์เล็ก
เราสามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตที่เราผลิตได้โดยการแปรรูปผลิตภัณฑ์
สัตว์เล็กที่จะแปรรูปนั้นต้องมีวัตถุประสงค์หลักในการเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร
การแปรรูปผลผลิตจากสัตว์สามารถทำการแปรรูปได้หลากหลายชนิด
ไม่ว่าจะแปรรูปผลิตเป็นอาหารหรือของใช้ต่างๆ เช่น
น้ำนมแพะสดสามารถน้ำไปต้มแล้วบรรจุขวดจำหน่ายได้ กระต่ายนำไปชำแหละขายเนื้อ
ส่วนหนังสามารถนำมาทำเป็นกระเป๋าหรือพวกกุญแจ เป็นต้น นอกจากเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตแล้ว
ยังเป็นการถนอมอาหาร
เพื่อช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์ให้สามารถจำหน่ายในระยะเวลานี้นานขึ้นด้วย
ที่มา www.kasetonline.net